Header Ads

Robot of the World

ความล้ำหน้าของหุ่นยนต์ยุคใหม่


ชาวญี่ปุ่นสร้างหุ่นที่สั่งการได้ด้วยระบบของ iphone

เจ้า kuratas ยักษ์ 4 เมตร พกปืนไฟ เป็นได้ทั้งแม่บ้านและนักผจญเพลิง
kuratas จัดแสดงโชว์ที่ Wonder festival โตเกียว 
มันสูง 4 เมตร หนัก 4.5 ตันสามารถยิงกระสุนเม็ด 6000 ลูกต่อนาที ค่าตัวของมันอยู่ที่ 100M เยน เท่านั้น หรือ 816,000 ปอนด์  Kuratas อาจเป็นได้ทั้ง robomop (หุ่นแม่บ้าน)หรือ robocop(หุ่นสู้รบ) เลยทีเดียว

เจ้ายักษ์เหล็ก นี้มีชื่อว่า Kuratas มันถูกควบคุมได้้โดยทั้งคนขับตรงกลางลำตัว หรือด้วย smartphone ที่เชื่อมเข้ากับระบบ 3G และมันได้ปรากฎตัวที่ Wonder festival โตเกียว ด้วยเครื่องยนต์พลังดีเซล ซึ่งมีความประหยัด ระบบอาวุธ(ความเร็วสูงสุด 6.2 mph) หรือจะปรับให้เป็นฟังชันเป็นมิตรก็ได้เช่น นักดับเพลิงหรือทำความสะอาดบ้าน โดยผู้ออกแบบมันก็คือ Suidobashi Heavy Industry
ขอขอบคุณคลิปจากยูทูปและภาพจากเวป mthai.com






หุ่นที่หน้าเหมือนคนที่สุดจากญี่ปุ่น

ชมหุ่นจากเมืองจีนกัน
Robot plays ping pong in Shanghai
หุ่นยนต์ ตีปิงปองที่งานอุตสาหกรรมนานาชาติเซียงไฮ้ 
ที่จีน  ณ.งานอุตสาหกรรมนานานชาติเมืองเซียงไฮก็ได้มีการจัดแสดงหุ่นมากมายหลายแบบเช่นกันตามที่ สหพันธ์รัฐนานาชาติหุ่นยนต์ ณ.เมือง Frankfurt ว่าไว้ ประเทศจีนจะได้กลายมาเป็นชาติที่นิยมใช้หุ่นกันในงานอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี  2014 ด้วยความต้องการการใช้งานกว่า 32000 ตัวGudrun Litzenberger เลขาธิการองค์กร ได้เล่าถึงเมืองจีนว่าเป็นตลาดหุ่นยนต์ที่โตเร็วที่สุดในโลกประเทศจีนมีหลายเหตุผลที่จะพัฒนาระบบจักรกลนี้ หุ่นยนต์สามารถเพิ่มผลผลิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำงานที่ซับซ้อนได้เทียบเท่ากับกับมนุษย์ที่เชี่ยวชาญงานแล้ว แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของจำนวนประชากรและเศรษฐกิจ จำนวนแรงงานในจีนลดลง ส่งผลให้ค่าแรงไม่ขึ้น"ไม่มีคนหนุ่มย่ำถนนมาเขียนใบสมัครที่โรงงานเลย" นั่นทำไมคุณจึงเห็นว่าค่าแรงสูงขึ้น และโรงงานก็ไม่สามารถจ้างคนมาเทรนได้ Geoff Crothall โฆษกแรงงานที่ศูนย์ฮ่องกงแถลง "ไม่แปลกที่คุณจะเห็น เป้าหมายที่ชัดเจนกว่าในระบบงานผลิตยานยนต์"
Shanghai robots industry fair
nice to meet you หุ่นยนต์ทักทายที่งาน Photograph: Pei Xin/Xinhua Press/Corbis
China International Industry Fair in Shanghai
หุ่นใช้งานในอุตสาหกรรมแสดงการpaint ภาพที่ 2012 fair เซียงไฮ้ Photograph: Zhu Lan/ Xinhua Press/Corbis
การเติบโตอย่างมั่งคั่งของชาวจีนและกฎหมายวางแผนครอบครัวได้วาดฝันต่อแรงงานเหล่านี้ การปรับปรุงด้านเวชภัณฑ์ทำให้คนแก่อายุยาวขึ้น และนโยบายลูกคนเดียวมีผลบังคับกับคนหนุ่มสาวที่ครอบครัวไม่ใหญ่นักในปี 2000 มีแรงงาน 6 คนที่พร้อมขึ้นมาทำงานทดแทนต่อ 1 คนอายุ60ขึ้นไป ณ.เวลานี้ อายุ20 ปี คาดการเติบโตมีแค่ 2 เท่านั้นคนหนุ่มสาวชาวจีนไม่มีทางเลือกนักและยังต้องเพิ่มทักษะเพื่อให้ค่าแรงสูงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัวได้ พวกเขามีการศึกษาที่ดีกว่าคนยุคก่อน และไม่ให้ความสนใจกับงานใช้แรง หุ่นยนต์ได้กลายมาเติมเต็มส่วนที่ขาดไปนี้
มาดูงานวิจัยหุ่นของเราบ้าง
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก manager.co.th


 Robotic Surgery หรือ หุ่นยนต์ผ่าตัด เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดและมีคุณภาพสูงที่สุด มีในไทยเป็นเครื่องแรก ในการนี้ ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ ประสพสันติ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และ รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา ร่วมแถลงข่าว "หุ่นยนต์ ผ่าตัด" ( Robotic Surgery ) เทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุด" เครื่องแรก ในประเทศไทย" ซึ่งมีสมรรถนะสูงสุดในปัจจุบัน
       
       ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า "หุ่นยนต์ผ่าตัด" ( Robotic Surgery ) เครื่องนี้ นับเป็นเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน สามารถให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายระบบ ได้แก่ ด้าน "ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ" ด้าน "ศัลยกรรมทั่วไป" ด้าน "ศัลยกรรมระบบลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก" และด้าน "สูตินรีเวช" 
       
 
คณบดีฯ กล่าวต่อไปว่า การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์นั้นได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ โดยในระยะแรกๆของการศึกษาทดลอง ได้มีการผ่าตัดโดยการบังคับหุ่นยนต์ข้ามทวีป (Tele Robotic) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาครั้งนั้นด้วย โดยการดำเนินงานผ่าน "หน่วยศัลยศาสตร์ ระบบปัสสาวะ" ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ John Hopkins Medical School ในปี 2540 ด้วยการดำเนินการโดยสั่งการผ่าตัดระยะไกลข้ามทวีป ระหว่างอเมริกา และประเทศไทย แต่หุ่นยนต์ผ่าตัดในช่วงแรกของการพัฒนานั้นใช้ระบบเสียงในการสั่งการยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การจดจำเสียงของศัลยแพทย์
       
       "การผ่าตัดที่มีหุ่นยนต์ช่วย ทำให้การผ่าตัดสะดวดและรวดเร็วยิ่งขึ้น หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) ในรุ่นแรกๆนั้น จะมีเพียงแค่แขนกลบังคับกล้อง เพื่อช่วยการมองเห็นในการผ่าตัด รุ่นต่อมาจะมีทั้งแขนกล้องและแขนที่ทำงานคล้ายมือของคน ที่มีขนาดเล็กเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความละเอียดมากขึ้น จนถึงรุ่นปัจจุบันได้มีการพัฒนาการมองเห็นเป็นแบบ ๓ มิติ และความละเอียดสูง (High Definition : HD) นอกจากนี้ยังสามารถทำการผ่าตัดไปพร้อมกับศัลยแพทย์ผู้ช่วยได้ โดยจะมี คันบังคับสำหรับแพทย์ ๒ คน สามารถช่วยกันทำผ่าตัด ซึ่งจะต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ที่ต้องทำคนเดียว และความละเอียดของภาพต่ำกว่า"
       
       ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีระบบการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Surgery) ซึ่งเป็น"เทคโนโลยีที่ดีที่สุด" โดยมีการ มองเห็นภาพเป็นแบบความละเอียดสูง ๓ มิติ (3D High definition : 3D HD) และมี กำลังขยาย ๑๐ เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำขึ้นอย่างมาก ต่างจากการทำผ่าตัดโดยเครื่องรุ่นก่อน หรือการทำผ่าตัดส่องกล้องแบบไม่ใช้หุ่นยนต์ ทำให้ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในที่แคบๆ และจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเจ็บ และความบอบช้ำของแผลผ่าตัดน้อยกว่า 










ไม่มีความคิดเห็น